วันอาทิตย์ที่ 11 ธันวาคม พ.ศ. 2559

บทที่ 3 ระบบปฏิบัติการกับการจัดการทรัพยากรระบบ

บทที่ 3 ระบบปฏิบัติการกับการจัดการทรัพยากรระบบ

การจัดการโปรเซส

โปรเซส คือ โปรแกรมที่ถูกประมวลผลโดยซีพียู แต่ในความจริงแล้วกิจกรรมที่ส่งไปให้ซีพียูประมวลผลนั้น ใช่ว่าจะเป็นโปรแกรมเท่านั้น ซึ่งในบางระบบอาจมีการเรียกกิจกรรมที่ซีพียูประมวลผลอยู่นั้นแตกต่างกันไป ดังนั้นไม่ว่าจะเป็น Job,Task หรือ User Program ซึ่งต่างก็มีความหมายเดียวกันกับคำว่าโปรเซส และโปรแกรมที่กำลังทำงานอยู่ ก็เรียกว่าโปรเซสเช่นกันโดยการทำงานของโปรเซสจะทำงานแบบเป็นลำดับ

 สถานะของโปรเซส

 เมื่อแต่ละโปรเซสกำลังทำงานอยู่นั้น จะมีการเปลี่ยนแปลงสถานะของโปรเซสในแต่ละช่วงเวลา โดยการทำงานของโปรเซสจะเกิดขึ้นบนสถานะใดสถานะหนึ่งเท่านั้น ซึ่งสถานะของโปรเซสจะประกอบด้วย
1. New
คือสถานะทีี่โปรเซสใหม่กำลังถูกสร้างขึ้น
2. Ready
คือสถานะที่โปรเซสกำลังรอคอย หรือพร้อมที่จะครอบครองหน่วยซีพียูเพื่อทำงาน
3. Running
คือสถานะที่โปรเซสได้ตรอบครองซีพียู หรือโปรเซสที่กำลังทำงานตามคำสั่งของโปรแกรม
4. Waiting
คือสถานะที่โปรเซสกำลังรอคอยเหตุการณ์บางอย่าง เช่น รอให้มีการรับหรือส่งข้อมูลให้เรียบร้อยก่อน
5. Terminated 
คือสถานะที่โปรเซสได้สิ้นสุดลง

https://sites.google.com/site/rabbpdibatikar2/_/rsrc/1358598415128/kar-peliyn-sthana-khxng-porses/6.png?height=295&width=667


วิธีการจัดตารางการทำงาน

จากสถานะของโปรเซสที่กล่าวมา ทำให้ทราบว่าโปรเซสใดที่จะถูกส่งไปให้ซีพียูทำงานก่อนดังนั้น ระบบปฏิบัติการจึงต้องมีวิธีการตัดสินใจในการส่งโปรเซสเข้าครอบครองซีพียู จึงเกิดการจัดตารางการทำงานของหน่วยซีพียูขึ้น

1. วิธีแบบมาก่อนได้ก่อน

    (First-Come,First-Served Scheduling :FCFS)
เป็นวิธีที่โปรเซสใดที่ร้องขอหน่วยซีพียูก่อน ก็จะได้รับการบริการจากซีพียูตามที่ได้ร้องขอกล่าวคือ เป็นไปตามโปรเซสที่ร้องขอบริการซีพียูตามลำดับคิว วิธีนี้เป็นวิธีที่ง่าย ไม่ซับซ้อน โดยวิธีFCFS นั้นสามารถนำแนวคิดหรือหลักการของคิวมาใช้งานได้ทันที ซึ่งเป็นไปในลักษณะ FIFO (First In,First Out) นั่นเอง

2. วิธีแบบงานใดใช้เวลาสั้นที่สุด จะได้ก่อน

    (Shortest-Job-Fist Scheduling : SJF)
เป็นวิธีที่ไม่ได้คำนึงถึงลำดับในคิวงานว่างานใดมาก่อน แต่จะพิจารณาถึงงานหรือโปรเซสที่ใช้เวลาการประมวลผลน้อยที่สุดก็จะได้บริการหน่วยซีพียูก่อน อย่างไรก็ตาม หากกลุ่มงานมีเวลาประมวลผลเท่ากัน ก็จะพิจารณาโปรเซสแบบมาก่อนได้ก่อนแทน

3.วิธีตามลำดับความสำคัญ(Priority Scheduling)

เป็นวิธีที่มีการกำหนดความสำคัญของโปรเซสแต่ละดปรเซสไม่เท่ากัน โดยโปรเซสที่จะเข้าครอบครองซีพียูได้ ต้องมีลำดับความสำคัญสูงสุดในกลุ่ม ดังนั้นโปรเซสใดที่มีลำดับความสำคัญที่สูงกว่า ก็จะถูกประมวลผลก่อน ถึงแม้ว่าจะมาทีหลังก็ตาม

4. วิธีแบบหมุนเวียนการทำงาน (Round-Robin Scheduling)

การจัดตารางด้วยวิธีแบบหุนเวียนกันทำงานนี้ ถูกออกแบบมาให้ใช้กับระบบคอมพิวเตอร์แบบแบ่งเวลา โดยจะใช้พื้นฐานวิธีอบบมาก่อนได้ก่อน(FCFS) เป็นหลัก แต่โปรเซสจะไม่สามารถครอบครองซีพีูได้เท่ากับเวลาที่ต้องการ ดังนั้น ด้วยวิธีนี้จึงมีการกำหนดให้แต่ละโปรเซสที่เข้าใช้บริการซีพียูถูกจำกัดด้วยเวลาใช้งานเท่าๆกัน ซึ่งช่วงเวลาเหล่านี้จะเป็นช่วงเวลาสั้นๆ ที่เรียกว่า เวลาควันตัม (Quantum Time)


วงจรอับ(Deadlock)

ในระบบปฏิบัติการที่ออกแบบมาเพื่อรองรับการทำงานหลายๆ โปรเซส หรือที่เรียกว่า Multiprogramming หรือ Multiuser นั้น ทีความเป็นไปได้ที่โปรเซสต่างๆ ต้องการครอบครองทรัพยากรเดียวกัน เหตุการณ์ดังกล่าวหากเกิดขึ้น ก็จะเกิดการแก่งแย่งชิงทรัพยากรในระบบขึ้นและหากระบบปฏิบัติการไม่มีกระบวนการใดๆ จัดการกับโปรเซสและทรัพยากรที่ต้องแชร์ใช้งานร่วมกัน ย่อมส่งผลต่อบางโปรเซสที่อาจต้องรอคอยทรัพยากรจากโปรเซสอื่นที่ครอบครองอยู่อย่างชั่วนิรันดร์ จึงเป็นที่มาของวงจรอับนั่นเอง
http://bc.feu.ac.th/pichate/os_c7/chapte3.gif

การจัดการหน่วยความจำ

การจัดการหน่วยความจำจัดเป็นสิ่งที่ยากต่อการออกแบบระบบปฏิบัติการทีเดียว เนื่องจากการจัดการหน่วยความจำหลักในแต่ละวิธี ล้วนแต่มีข้อจำกัดเหมือนกันก็คือ โปรแกรมทั้งหมดของโปรเซสหนึ่งๆ จะต้องถูกโหลดเข้าไปอยู่ในหน่วนความจำหลักก่อนที่โปรเซสนั้นจะเริ่มทำงานหรือประมวลผล นั่นหมายความว่าขนาดของโปรเซสที่โหลดเข้าไปในหน่วยความจำหลักนั้น จะต้องไม่โตกว่าขนาดของหน่วยความจำหลักที่มีอยู่

การจัดสรรหน่วยความจำ (Memory Allocation)

 ตามที่ได้กล่าวมาแล้วก็คือ ข้อมูลและโปรแกรมต่างๆ ล้วนต้องถูกโหลดเข้าไปในหน่วยความจำหลัก หรือกล่าวได้อีกนัยหนึ่งว่า โปรแกรมจะทำงานได้ก็ต่อเมื่อ โปรแกรมนั้นได้ถูกโหลดไว้ในหน่วยความจำแล้วเท่านั้น และการที่โปรแกรมสามารถเข้าไปใช้หน่วยความจำของระบบได้ เพราะระบบปฏิบัติการเป็นผู้จัดสรรให้นั่นเอง
  การจัดสรรหน่วยความจำ สามารถแบ่งออกเป็น 2 ประเภทด้วยกันคือ การจัดสรรหน่วยความจำแบบต่อเนื่อง และจัดสรรหน่วยความจำแบบไม่ต่อเนื่อง

1. การจัดหน่วยความจำแบบต่อเนื่อง (Continuous Memory Allocation)

              คอมพิวเตอร์ในยุคก่อนๆ นั้นจะมีการครอบครองหน่วยความจำให้โปรแกรมต่างๆ ในลักษณะต่อเนื่องทั้งสิ้น กล่าวคือโปรแกรมหนึ่งๆ จะถูโหลดลงในหน่วยความจำได้ก็ต่อเมื่อมีหน่วยความจำขนาดใหญ่พร้อมที่จะวางโปรแกรมนั้นลงไปทั้งหมดได้ การจัดการในลักษณะนี้หากมีหน่วยความจำที่ต่อเนื่องกันมีขนาดไม่เพียงพอสำหรับโปรแกรมทั้งโปรแกรมที่จะลงไปได้โปรแกรมนั้นก็จะทำงานไม่ได้ต้องรอจนกว่าจะมีหน่วยความจำเหลือพอที่วางโปรแกรมทั้งโปรแกรมนั้นลงไปได้

2. การจัดสรรหน่วยความจำแบบไม่ต่อเนื่อง ( Non-Continuous Allocation )

              การจัดสรรหน่วยความจำลักษณะนี้มักใช้ในระบบปฏิบัติการในปัจจุบัน กล่าวคือการครอบครองหน่วยความจำนี้ โปรแกรมจะถูกแบ่งเป็นส่วนๆ หลายๆ ส่วนด้วยกันเมื่อจะทำการรันโปรแกรม  ก็จะโหลดโปรแกรมลงในหน่วยความจำส่วนไหนก็ได้ที่มีที่ว่างพอและที่สำคัญในแต่ละส่วนที่โหลดลงไปในความจำนั้น  ไม่จำเป็นต้องเรียงต่อกันอย่างแบบแรก  ดังนั้นการจัดสรรหน่วยความจำในลักษณะนี้จะสามารถใช้งานหน่วยความจำได้เต็มที่กว่าแบบแรก  โดยไม่ต้องรอว่าจะต้องมีหน่วยความจำที่ติดต่อกันทั้งหมดมีขนาดใหญ่เพียงพอกับโปรแกรมทั้งหมดหรือไม่  แต่การจัดสรรหน่วยความจำแบบนี้  ตัวระบบปฎิบัติการก็จะต้องมีกระบวนการที่ยุ่งยากซับซ้อนเพิ่มขึ้น

ระบบโปรแกรมเดี่ยว (Single Program/Monoprogramming)

ในระบบคอมพิวเตอร์ที่ประมวลผลในรูปแบบโปรแกรมเดี่ยว หมายความว่าสามารถรันโปรแกรมของผู้ใช้ได้เพียงครั้งละหนึ่งโปรแกรมเท่านั้น ซึ่งหลักการทำงานของระบบโปรแกรมเดี่ยวมีข้อดีตรงที่การจัดการหน่วยความจำเป็นไปค่อนข้างง่าย ไม่ซับซ้อน แต่ข้อจำกัดก็คือไม่สามารถรันโปรแกรมได้หลายๆ โปรแกรม ตัวอย่างระบบปฏิบัติการแบบ)รแกรมเดี่ยวคือ ระบบปฏิบัติการ DOS


ระบบหลายโปรแกรม (Multiprogramming)

หลักการของระบบหลายโปรแกรมมีอยู่ว่า การทำงานของโปรแกรมในคอมพิวเตอร์นั้นส่วนใหญ่สูญเสียไปกับการจัดการกับอุปกรณ์อินพุตและเอาต์พุต ซึ่งอุปกกรณ์ดังกล่าว มีการเข้าถึงและการทำงานช้ามากเมื่อเทียบกับซีพียู และในขณะที่ได้มีการจัดการกับอุปกรณ์อินพุตและเอาต์พุตนั้น ก็ไม่จำเป็นต้องใช้ซีพียู

หน่วยความจำเสมือน (Virtual Memory)

จากหลักการรันโปรแกรมโดยทั่วไปที่ได้กล่าวมาข้างต้น โปรแกรมที่รันจะต้องถูกโหลดเข้าไปเก็บไว้ในหน่วยความจำทั้งหมด กล่าวคือโปรแกรมหรือโปรเซสทั้งตัวจะต้องอยู่ในหน่วยความจำหลักก่อน จึงสามารถเริ่มทำการประมวลผลได้ซึ่งแลดูแล้วเป็นเรื่องปกติธรรมดา แต่หากพิจารณาให้ดีแล้วจะพบว่า หากโปรแกรมมีขนาดใหญ่กว่าพื้นที่ในหน่วยความจำหลัก ก็ไม่สามารถประมวลผลได้หรือ และหากเป็นเช่นนี้จริง ก็คงเป็นสิ่งที่เลวร้ายไม่น้อยเลยทีเดียว
http://bc.feu.ac.th/pichate/os_c9/Image43.gif

การจัดการแฟ้มข้อมูล

ในระบบปฏิบัติการจะมีวิธีการจัดเก็บข้อมูลในรูปแบบของไฟล์หรือแฟ้มข้อมูล โดยที่ไฟล์หรือแฟ้มข้อมูลนั้น อาจบรรจุไปด้วยข้อมูล หรือโปรแกรมใดๆ ก็ได้ที่ผู้ใช้ต้องการรวบรวมไว้รวมเป็นชุดเดียวกัน ที่สำคัญ การอ้างอิงไฟล์ หรือข้อมูลต่างๆ ภายในโปรแกรม จะไม่ได้เกี่ยวข้องกับแอดเดรสของโปรแกรมใดๆ เลยทั้งสิ้น แต่ระบบปฏิบัติการจะเตรียม System Call หรือตัวเลือกระบบเพื่อให้โปรแกรมเรียกใช้ เพื่อจัดการกับงานที่เเเกี่ยวข้องกับไฟล์ได้  ว่าจะเป็นการสร้างไฟล์ การลบฟล์ การปรับปรุงหรือบันทึกไฟล์ เป็นต้น
 สำหรับการจัดเก็บไฟล์ข้อมูล จะมีหลักการอยู่ 2 วิธีด้วยกันคือ การบันทึกข้อมูลในไฟล์แบบเรียงติดกัน และกาารแบ่งไฟล์เป็นบล็อก
http://th.jobsdb.com/th-th/wp-content/uploads/sites/-folder.jpg

 อ้างอิง
http://bc.feu.ac.th/pichate/os_c9/chapter9.htm
https://th.jobsdb.com/th-th/articles
http://490702464037.exteen.com/20080818/6-deadlock
https://sites.google.com/site/rabbpdibatikar2/kar-peliyn-sthana-khxng-porses

บทที่ 4 ประเภทของโปรแกรมระบบปฏิบัติการ


บทที่ 4 ประเภทของโปรแกรมระบบปฏิบัติการ

ความแตกต่างของระบบปฏิบัติการ

ระบบปฏิบัติการชนิดต่างๆ ถูกออกแบบและสร้างขึ้นบนพื้นฐานของความต้องการที่แตกต่างกัน อันได้แก่
1. อินเตอร์เฟซของระบบปฏิบัติการ
2. ประเภทของระบบปฏิบัติการ
3. ชนิดของซีพียูที่สนับสนุน

 

   




http://comerror.com/news_image/15_27072013031625_1.jpg

อินเตอร์เฟซของระบบปฏิบัติการ

อินเตอร์เฟซของระบบปฏิบัติการสามารถถูกออกแบบให้อยู่ในรูปของการโต้ตอบด้วยคำสั่ง หรือแบบกราฟิกก็ได้โดยที่

https://tantanlowbatt.files.wordpress.com/2015/01/002.jpg?w=620

อินเตอร์เฟซแบบคำสั่ง (Command Line)

เป็นอินเตอร์เฟซที่ผู้ใช้ต้องมีความรู้ในการโต้ตอบกับคอมพิวเตอร์ผ่านคำสั่งต่างๆ ดังนั้นผู้ใช้งานจึงต้องรู้ว่า ต้องป้อนคำสั่งอะไรลงไปเพื่อโต้ตอบกับคอมพิวเตอร์หรือสั่งงานให้เครื่องทำ  ตัวอย่างเช่น ในระบบปฏิบัติการ DOS หากต้องการสร้างไดเรกทอรี (โฟลเดอร์) จะต้องใช้คำสั่ง md หรือหากต้องการคัดลอกไฟล์ก็จะต้องใช้คำสั่ง copy ซึ่งนอกจากต้องรู้คำสั่งแล้ว ยังต้องเขียนรูปแบบคำสั่งให้ถูกต้องด้วย
https://upload.wikimedia.org/wikipedia/commons/2/29/Linux_command-line._Bash._GNOME_Terminal._screenshot.png

อินเตอร์เฟซแบบกราฟิก (Graphics User Interface : GUI)

ระบบปฏิบัติการยุคใหม่ อินเตอร์เฟซเพื่อการโต้ตอบมักถูกออกแบบเป็น GUI ซึ่งนอกจากจะมีความสวยงามแล้ว ยังดึงดูดความสนใจแก่ผู้ใช้และยังช่วยให้การโต้ตอบระหว่างกันสะดวกยิ่งขึ้น
http://www.ictlounge.com/Images/gui_large.jpg

ประเภทของระบบปฏิบัติการ

ระบบปฏิบัติการ ยังถูกจัดแบ่งเป็นประเภทต่างๆ ดังนี้
https://blogger.googleusercontent.com/img/b/R29vZ2xl/AVvXsEiDL41KxG3NXlHGcpAfi2NwaFATJ3R9qk4bgdyjoF7_pKZmB1rEa8GfvBv0-rNFurKuRTzn9zAa9VAIqLGXChxX13yXT3GTIZ-K6abqMtrpyto8qoAJVYXmlgfKN6zgDX1Mpb3aj_swXxs/s1600/windows-logo.jpg

ระบบปฏิบัติการส่วนบุคคล (Personal Operating Systems)

เป็นระบบปฏิบัติการที่นำมาใช้งานส่วนบุคคลเป็นหลัก ในลักษณะของผู้ใช้คนเดียว (Stand-Alone) ตัวอย่างเช่น ระบบปฏิบัติการ Windows
http://hautesecure.com/wp-content/uploads/2011/12/OS_thumb.jpg

ระบบปฏิบัติการเครือข่าย (Network Operating Systems)

เป็นระบบปฏิบัติการที่สร้างขึ้นเพื่อใช้งานบนระบบเครือข่ายเป็นหลัก สามารถรองรับการเชื่อมต่อขากเครื่องลูกข่ายต่างๆ เข้าด้วยกัน  โดยมีศูนย์บริการที่เรียกว่าเซิร์ฟเวอร์ที่ใช้เป็นเครื่องแม่ข่ายหรือมักเรียกกันว่าโฮสต์
https://sites.google.com/site/sornsindompraiwan/_/rsrc/1468848691728/ip-adress/kar-confix-ip-address/network-operating-system/790aa-nos.jpg


ชนิดของซีพียูที่สนับสนุน

โดยทั่วไปแล้ว ระบบปฏิบัติการมักถูกสร้างขึ้นเพื่อใช้งานบนซีพียูประเภทใดประเภทหนึ่งโดยเฉพาะ เช่น ใช้งานกับซีพียูของเครื่องพีซีทั่วไป เครื่องเซิร์ฟเวอร์ หรืออุปกรณ์เคลื่อนที่
http://www.oopsmobile.net/wp-content/uploads/2015/07/sofia1-300x251.jpg

ระบบปฏิบัติการบนคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลและเซิร์ฟเวอร์

ในหัวข้อนี้ จะขอกล่าวถึงระบบปฏิบัติการที่นิยมใช้งานบนคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคล และบนเครือข่ายคอมพิวเตอร์ อันได้แก่ ระบบปฏิบัติการ DOS, Windows, Windows  Server, Mac-OS, Unix และ Linux
https://blogger.googleusercontent.com/img/b/R29vZ2xl/AVvXsEgSEILEyDL-eoYroinxALs8SMLHIHPp7ju9TQPF9NuMHKk1OPhy_ns3tCOM_0tFLHrkuClJkjx_x2bYQ9_bQ5OK5W0_uE-fLKubDDVefYDhXra64j6ER-HJOi01rejOz4k72vxBUW7qwmk/s1600/windows-logo.jpg

   ดอส (Disk Operating System : DOS)

ระบบปฏิบัติการ DOS จัดเป็นระบบปฏิบัติการที่ได้รับความนิยมสูงมากในช่วงปี พ.ศ. 2523  ถึง พ.ศ. 2533 ถูกออกแบบใช้งานบนซีพีในยุคเริ่มต้น เป็นระบบปฏิบัติการที่ประมวลผลแบบงานเดียว (Single Tasking) โดยมีอินเตอร์เฟซเป็นแบบคำสั่งหรือที่เรียกว่า Command Prompt อย่างไรก็ตาม ในระบบปฏิบัติการ Windows ก็ยังผนวกการโต้ตอบแบบคำสั่งเอาไว้สำหรับผู้ที่ยังคงชื่นชอบรูปแบบการโต้ตอบชนิดนี้
https://upload.wikimedia.org/wikipedia/commons/thumb/9/94/FreeDOS_Beta_9_pre-release5_(command_line_interface)_on_Bochs_sshot20040912.png/440px-FreeDOS_Beta_9_pre-release5_(command_line_interface)_on_Bochs_sshot20040912.png

วินโดวส์ (Windows)

ระบบปฏิบัติการ Windows จากค่ายไมโครซอฟต์ เป็นระบบปฏิบัติการที่มีวิวัฒนาการมายาวนานหลายปีทีเดียว ในปัจจุบันมีส่วนแบ่งตลาดมากกกว่า 90%  มีหลากหลายเวอร์ชั่น หลากหลายระดับให้เลือกใช้  ตั้งแต่ระบบปฏิบัติการส่วนบุคคล ระบบปฏิบัติการเครือข่าย  และระบบปฏิบัติการบนโทรศัพท์เคลื่อนที่ รายละเอียดต่อไปนี้ จะสรุปประวัติโดยย่อของระบบปฏิบัติการ Windows ในเวอร์ชั่นต่างๆ ตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน
https://mlxprodcontent.blob.core.windows.net/014665-1000/en-us/thumbnail.png?v=20160821202632

Windows 1.0 ถึง Windows XP

บริษัทไมโครซอฟต์ได้สร้างระบบปฏิบัติการวินโดวส์ตัวแรกคือ Windows 1.0 เมื่อปี พ.ศ. 2528 เพื่อทดแทนระบบปฏิบัติการ DOS จนในที่สุดก็ได้ระบบปฏิบัติการ Windows 3.11 ซึ่งถือเป็นเวอร์ชั่นที่ได้รับการยอมรับและประสบความสำเร็จจากผู้ใช้เป็นจำนวนมากที่มีอยู่ทั่วโลก
และในปี พ.ศ. 2544 นี้เอง ถือเป็นจุดเปลี่ยนอันสำคัญทีเดียวโดยทางไมโครซอฟต์ได้ปิดตัวระบบปฏิบัติการ Windows XP ซึ่งสร้างความสำเร็จให้กับบริษัทเป็นอย่างมาก และยังได้รับความนิยมตอบรับการใช้งานอย่างต่อเนื่องเป็นระยะเวลามากกว่า 10 ปี จนถึงทุกวันนี้ก็ยังมีผู้ใช้บางกลุ่ม ยังคงใช้งานระบบปฏิบัติการ Windows XP อยู่ แม้ว่าทางไมโครซอฟต์ได้ประกาศหยุดให้การสนับสนุนทางเทคนิคให้กับ Windows XP แล้วก็ตาม
http://i1-news.softpedia-static.com/images/news2/Microsoft-The-Future-of-Windows-XP-SP3-2.png


Windows Vista

ในช่วงปี พ.ศ. 2550 ไมโครซอฟต์ได้เปิดตัวระบบปฏิบัติการ Windows Vista เพื่อทดแทน Windows XP ที่มีการใช้งานมายาวนาน โดยมีจุดเด่นตรงที่ เป็นระบบปฏิบัติการที่สนับสนุนระบบ 64 บิต พร้อมกับปรับปรุงประสิทธิภาพในส่วนต่างๆ เพิ่มขึ้นอีกหลายอย่าง แต่ระบบปฏิบัติการ Windows Vista มีกระแสตอบรับไม่ดีเลย ถือว่าล้มเหลวโดยสิ้นเชิง โดยเฉพาะในเรื่องของการใช้ทรัพยากรระบบสูงและการทำงานค่อนข้างช้า
http://www.techxcite.com/topics/15782/filemanager/windows-vista-help2.jpg


  Windows 7

  อีก 2 ปีถัดมา ทางไมโครซอฟต์ก็ได้ซุ่มพัฒนาระบบปฏิบัติการ Windows 7  และได้เปิดตัวใช้งานเมื่อปลายปี พ.ศ. 2552 โดยทางทีมงานได้ประกาศว่า ระบบปฏิบัติการ Windows 7 จะเป็นระบบปฏิบัติการที่มีประสิทธิภาพสูงสุด เพื่อเป็นการเรียกคืนความมั่นใจกลับมาอีกครั้ง
https://redmondmag.com/articles/list/~/media/ECG/redmondmag/Images/introimages2014/140812REDMackieWin7.jpg

Windows 8

ปี พ.ศ. 2555 ทางไมโครซอฟต์ได้เปิดตัวระบบปฏิบัติการ Windows 8  โดยมีการปรับปรุงรูปโฉมของวินโดวส์ใหม่ทั้งหมด ด้วยอินเตอร์เฟซใหม่ที่ทางไมโครซอฟต์ใช้ชื่อว่า “Metro Interface” ซึ่งคล้ายกันกับ Windows Phone ที่ใช้งานบนโทรศัพท์เคลื่อนที่ และยังรองรับจอภาพแบบสัมผัส (Touch Screen)  เพื่ออำนวยความสะดวกในการเข้าถึงแอปพลิเคชั่นต่างๆ ได้อย่างรวดเร็ว
https://fthmb.tqn.com/vYm-bIUsfo6TF3PsLdU6yLqwQ2E=/768x0/filters:no_upscale()/about/windows-8-57c731a73df78c71b60e50a1.jpg

Windows Server

เป็นระบบปฏิบัติการเครือข่าย (Network Operating System : NOS) จากค่ายไมโครซอฟต์ที่ถูกออกแบบให้ใช้งานบนเครื่องเซิร์ฟเวอร์โดยเฉพาะมักใช้งานตามองค์กรทั่วไป สำหรับข้อเด่นของระบบปฏิบัติการเครือข่ายจากค่ายไมโครซอฟต์ก็คือ มีโปรแกรมสนับสนุนมากมาย อีกทั้งการเชื่อมโยงเครื่องลูกข่ายเข้ากับเครื่องเซิร์ฟเวอร์นั้นจะง่ายมากหากเครื่องลูกข่ายใช้ระบบปฏิบัติการจากค่ายไมโครซอฟต์เหมือนกัน
http://www.wegotserved.com/wp-content/uploads/2016/09/windows-server.jpg

แมคโอเอส (Mac-OS) 

ระบบปฏิบัติการ Mac เป็นผลิตภัณฑ์จากค่ายแอปเปิลที่ออกแบบมาใช้งานบนเครื่องแมคโดยเฉพาะ เป็นระบบปฏิบัติการที่พัฒนาขึ้นจากพื้นฐานระบบปฏิบัติการยูนิกซ์ โดยอินเตอร์เฟซแบบกราฟิก (GUI) ในรูปแบบหน้าต่างซ้อนๆกัน
http://3.bp.blogspot.com/-AS547m2Na8g/Ua1tI0MDrjI//HgDyLfjIyI0/s1600/mac_osx8.jpeg

ยูนิกซ์ (Unix)

ระบบปฏิบัติการ Unix ได้รับการพัฒนาขึ้นครั้งแรกเมื่อปี พ.ศ. 2503 ถูกออกแบบเพื่อใช้งานบนเครื่องเซิร์ฟเวอร์ระดับกลาง เป็นระบบปฏิบัติการประมวลผลแบบมัลติยูสเซอร์และมัลติทาสกิ้ง นอกจากนี้ ระบบคอมพิวเตอร์ตั้งแต่ระดับไมโครคอมพิวเตอร์จนถึงเมนเฟรม สามารถรันอยู่ภายใต้ระบบปฏิบัติการยูนิกซ์ได้ทั้งสิ้น
https://sites.google.com/site/jukkridrenji12/_/rsrc/1447310257905/rabb-ptibati-kar-unix/unix-logo.gif

ลินุกซ์ (Linux)

ลินุกซ์จัดเป็นระบบปฏิบัติการสายพันธุ์หนึ่งของ Unix และยังเป็นระบบเปิด ที่เปิดโอกาสให้นักพัฒนานำไปปรับปรุงเพื่อแบ่งปันใช้งานบนอินเทอร์เน็ต แม้ว่า Linux ฉบับดั้งเดิมนั้นจะมีอินเตอร์เฟซแบบ Command Line ก็ตาม แต่เวอร์ชั่นใหม่ๆ ในปัจจุบันได้มีการปรับเปลี่ยนอินเตอร์เฟซมาเป็นแบบ GUI  และสามารถดาวน์โหลดมาใช้งานฟรีผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ตสำหรับลินุกซ์ประเทศไทย
http://www.nengnengneng.net/wp-content/uploads/2012/09/526.jpg

ระบบปฏิบัติการบนโทรศัพท์เคลื่อนที่

ระบบปฏิบัติการที่ใช้งานบนเครื่องพีซี โน้ตบุ๊ก และเน็ตบุ๊ก ส่วนใหญ่จะใช้ระบบปฏิบัติการตัวเดียวกัน แต่สำหรับอุปกรณ์อย่างโทรศัพท์เคลื่อนที่  แท็บเล็ต และอุปกรณ์พกพาต่างๆ จะใช้ระบบปฏิบัติการคนละตัวกัน ที่เรียกว่า ระบบปฏิบัติการบนโทรศัพท์เคลื่อนที่ (Mobile Operating System) ในขณะเดียวกัน ก็มีระบบปฏิบัติการที่ถูกออกแบบมาเป็นกรณีพิเศษ เพื่อนำมาใช้งานบนอุปกรณ์เคลื่อนที่โดยเฉพาะ เช่น Windows Phone, Android, Apple IOS, BlackBerry, HP webOS, Symbian เป็นต้น
http://www.technointrend.com/wp-content/uploads/2013/05/3mobile_os.jpg


อ้างอิง
http://www.nengnengneng.net/archives/3772
http://www.smilebkos.com
http://www.technointrend.com
http://melanies-miene.blogspot.com/
http://www.wegotserved.com/
http://www.pcadvisor.co.uk/how-to/windows

วันจันทร์ที่ 5 ธันวาคม พ.ศ. 2559

บทที่ 5 การติดตั้งระบบปฏิบัติการ

สรุปบทที่ 5

สิทธิ์ความเป็นเจ้าของซอฟต์แวร์  ในมุมมองทางตลาด ถูกจัดแบ่งออกเป็นประเภทต่างๆ ดังนี้

  1. ซอฟต์แวร์เพื่่อการพาณิชย์
  2. แชร์แวร์ (Shareware)
  3. ฟรีแวร์(Freeware)
      4.ซอฟต์แวร์สาธารณะ

ซอฟต์แวร์ตามมาตรฐานปิด คือซอฟต์แวร์ที่มีกรรมสิทธิ์ความเป็นเจ้าของ ไม่มีการเปิดเผยชุดคำสั่ง โดยเป็นเจ้าของลิขสิทธิ์แต่เพียงผู้เดียว แล้วได้รับใบอนุญาตภายใต้สิทธิตามกฏหมาย




ซอฟต์แวร์ตามมาตรฐานเปิด  คือซอฟต์แวร์แบบ Open Source  ที่ถูกสร้างขึ้นด้วยแนวคิดการอาศัยความร่วมมือจากโปรแกรมเมอร์หรือนักพัฒนาซอฟต์แวร์ทั่วโปร โดยมีความตั้งใจที่จะเปิดเผยชุดคำสั่งสู่สาธารณะ  เพื่อให้เหล่านักสร้างซอฟต์แวร์เหล่านี้ขึ้นมา
           การปิดระบบใน Windows 7 สามารถเลือกดำเนินการในรูปแบบต่างๆ ดังนี้

  • Shuttdown เป็นการปิดเครื่อง

  • Switch user เป็นการล็อกออนเข้าบัญชีผู้อื่น โดยงานของบัญชีผู้ใช้คนเดิมยังคงอยู่

  • Log off เป็นการปิดการทำวานของบัญชีผู้ใช้ที่ใช้อยู่ปัจจุบัน เพื่ล็อกออนเข้าบัญชีผู้ใช้รายอื่นๆ

  • Lock  เป็นการหยุดพักการทำงานแบบชั่วคราว




  • Restart เป็นการปิดระบบ แลัวบูตเครื่องรอบใหม่

  • Sleep  เป็นการหยุดพักระบบหรือให้ระบบหลับชั่วคราว สามารถกลับมาใช้งานดเมื่อมีการขยับเมาส์หรือกดปุ่มคีย์ใดๆ บนคีย์บอร์ด

  • Hibernate เป็นการหยุดพักการทำงานชั่วคราว ด้วยการจัดเก็บานที่ค้างคาอยู่ ณ ขณะนั้นไว้ในฮาร์ดดิสก์ และเครื่องก็จะถูกปิดไป ครั้นเมื่อมีการเปิดเครื่อง ระบบก็จะโหลดโปรแกรมที่ค้างคาอยู่ขึ้นมา เพื่อให้เราได้ใช้งานต่อ
ระบบปฏิบัติการ Windows 8 สามารถเลือกใช้งานใน 2 มุมมองด้วยกัน คือแบบเดสก์ท็อปกับแบบเมโทรอินเตอร์เฟชที่สนับสนุนจอภาพแบบสัมผัส
แบบเดสก์ท็อป


 แบบเมโทรอินเตอร์เฟช



               

อ้างอิง

หนังสือเรียนวิชา การใช้งานระบบปฏิบัติการ รหัสวิชา 2128-2002
ประเภทวิชาอุตสาหกรรม สาขาวิชาเทคนิคคอมพิวเตอร์ ลำดับที่ 116